เงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง

เป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้านการบริการเครื่องจักรกลปี 2570

ประวัติความเป็นมา

เนื่องจากกรมทางหลวงมีงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ แต่กรมทางหลวงได้รับงบประมาณ น้อยมากไม่เพียงพอในการบำรุงรักษาทางทั้งหมดได้ดังนั้น ในปีพ.ศ.2513 กรมทางหลวงจึงได้ศึกษาความต้องการ ด้านบำรุงรักษาทางหลวง ในขณะเดียวกันได้ศึกษาความ ต้องการด้านเครื่องจักรที่จำเป็น เพื่อดำเนินการบำรุงรักษา ทางหลวงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสม

จากรายงานสรุปที่เกี่ยวกับเครื่องจักร ผลการศึกษา พบว่า งบประมาณเครื่องจักรบำรุงทางเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง การจัดหาเครื่องจักรบำรุงทางตามแผนงานโดยอาศัยเงิน งบประมาณแผ่นดินในขณะนั้นอยู่ในสภาพที่น่าวิตก ในปี พ.ศ.2514 มีเครื่องจักรดำเนินการเพียงร้อยละ 50 ของ เครื่องจักรที่ต้องการเท่านั้น สมควรจัดหาเครื่องจักรบำรุงทาง โดยด่วนที่สุด โดยจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และด้วย ความจำเป็นเร่งด่วนสมควรที่จะพิจารณากู้เงินจากธนาคาร โลกมาใช้ในการจัดหาเครื่องจักร

ในปี พ.ศ.2517 โดยคำแนะนำของธนาคารโลก กรมทางหลวงได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาแค้มป์แซกส์ จำกัด มาทำการศึกษาและจัดทำโครงการบำรุงรักษาทางหลวงที่ เหมาะสม พร้อมทั้งเสนอแนะความต้องการด้านเครื่องจักร
บำรุงทางด้วย สรุปสาระสำคัญ 3 ประการ ใน 5 ประการ
ของข้อเสนอแนะของที่ปรึกษาดังนี้

ข้อสรุปสาระสำคัญ 3 ประการ ใน 5 ประการ

01

ควรจัดหาชุดเครื่องจักรบำรุงทางอย่างเพียงพอ
และชุดเครื่องจักรสำหรับงานบำรุงปกตินั้น ควรจัดหาโดย
ใช้เงินกู้ธนาคารโลก

02

ควรจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนค ่าเครื่องจักรกล
(Equipment Revolving Fund) เพื่อบริหารและดำเนินการ
เกี่ยวกับเครื่องจักรและยานพาหนะของกรมทางหลวง

03

ควรจัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่บำรุงทางหลวง
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรให้มีความรู้และ
ความสามารถมากขึ้น

กรมทางหลวงและธนาคารโลกได้ให้ความเห็นชอบ ในข้อเสนอของบริษัท และธนาคารโลกได้อนุมัติเงินกู้ โดยมีเงื่อนไขให้กรมทางหลวงจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการบริหารและดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องจักร และ กระทรวงการคลังได้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเงื่อนไข พิเศษต ่อท้ายสัญญาเงินกู้ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์2521โดยข้อตกลงระหว ่างรัฐบาลไทยและธนาคารโลก กรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาคือห้างหุ้นส่วน จำกัด วาเลนไทน์ลอรี่ห์แอนด์ เดวี่ส์ มาดำเนินโครงการ จัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนฯ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2521 – 28 กุมภาพันธ์2524 โดยแบ่งรายละเอียดการดำเนินงาน เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1

เวลาดำเนินการ 11 เดือน เริ่มตั้งแต่

1 กันยายน 2521 – 31 กรกฎาคม 2522 ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการระยะเตรียมการ(preparation period)ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลงาน การจัดรูปงาน การวางแผนจัดเครื่องจักร-ยานพาหนะพร้อมทั้งการตรวจสอบ และการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวง เพื่อร่วมปฏิบัติงาน

เวลาดำเนินการ 8 เดือน เริ่มตั้งแต่

1 สิงหาคม 2522 – 31 มีนาคม 2523 เป็นการจัดรูปงาน บริหารเครื่องจักรใหม่
เป็นแบบที่จะคิดค่าเช่าตามหลักเกณฑ์ งานเงินทุนหมุนเวียน การอบรมเจ้าหน้าที่ระดับเขตการทาง แขวงการทางตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์การดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียน และการพัฒนา งานบริหาร เพื่อทำให้การใช้เครื่องจักรและยานพาหนะมี ประสิทธิผลสูงสุด รวมทั้งการทดลองเก็บค่าเช่า โดยการ บันทึก ฯลฯ

ระยะที่ 2

ระยะที่ 3

ระยะที่ 3 เวลาดำเนินการ 11 เดือน เริ่มตั้งแต่1 เมษายน 2523 – 28 กุมภาพันธ์ 2524 เป็นระยะสรุปและประเมินผล

เมื่อบริษัทสิ้นสุดการดำเนินงานในระยะที่ 2 กรมทางหลวงเห็นว่าระบบเงินทุนหมุนเวียนเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้และจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนิน
งานของกรมทางหลวงอย่างมหาศาล จึงสรุปผลเสนอต่อ
คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
ตามโครงการเงินกู้กระทรวงคมนาคม ในการประชุมครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่21 เมษายน 2523 เพื่อขออนุมัติหลักการ
ตามสาระสำคัญ คือ

ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการศึกษารายละเอียดการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนฯ

ขออนุมัติจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง ตั้งแต่1 ตุลาคม 2523

กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีในการ
ประชุมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2523 และคณะรัฐมนตรี
มีมติอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเครื่องจักรและ
ยานพาหนะ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 ในวงเงินไม่เกิน
120 ล้านบาท และให้กรมทางหลวงแปรญัตติงบประมาณ
ปี2524 เพิ่มเติมเพื่อการตั้งเงินทุนหมุนเวียน

กรมทางหลวงได้รับงบประมาณจากการแปรญัตติ 1ล้านบาทเป็นทุนเริ่มแรกและได้ดำเนินการโอนเครื่องจักรกล ชุดบำรุงทาง เข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียนซึ่งได้รับอนุมัติจาก กระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2525 จำนวน 3,575 คัน/เครื่อง มูลค่า 1,653.71 ล้านบาทและเริ่มระบบ เงินทุนหมุนเวียนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2526 เป็นต้นมา

ต่อมาในปีพ.ศ.2539 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2539เห็นควรให้กรมทางหลวงโอนครุภัณฑ์เครื่องจักรกล ที่ใช้ในการก ่อสร้างทาง ให้อยู ่ในความควบคุมดูแลและ รับผิดชอบของเงินทุนหมุนเวียนฯกรมทางหลวงได้ดำเนินการ โอนเครื่องจักรกลชุดเครื่องจักรมาตรฐานในงานก่อสร้าง เข้ามาเป็นทรัพย์สินของเงินทุนหมุนเวียนฯ และได้รับอนุมัติ จากการกระทรวงการคลังครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2538จำนวน 2,912 คัน/เครื่อง มูลค่า 447.73 ล้านบาทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2539 จำนวน 1,453 คัน/เครื่อง มูลค่า 143.21 ล้านบาท และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 อีกจำนวน 406 คัน/เครื่อง มูลค่า 162.49 ล้านบาท