การจัดหาเครื่องจักรกล

วัตถุประสงค์

เพื่อให้มีเครื่องจักรหมุนเวียนใช้งานและตรงกับความต้องการของผู้เช่าใช้ ตามภารกิจของกรมทางหลวง

การวัดผล

การวัดผลจะใช้วิธีการสำรจคามพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

การดำเนินการ

กระบวนการจัดทำชุดเครื่ิองจักรกลเงินทุนหมุนเวียนฯ
ระยะเวลาการดำเนินการ ตุลาคม – ธันวาคม
จัดทำแผนการจัดหาเครื่องจักรกลประจำปี
ระยะเวลาการดำเนินการ มกราคม – มีนาคม
ขออนุมัติประมาณการใช้จ่ายประจำปี
ระยะเวลาการดำเนินการ เมษายน – กรกฏาคม
พิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องจักรกล
ระยะเวลาการดำเนินการ สิงหาคม – กันยายน
ดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักรกล
ระยะเวลาการดำเนินการ ตุลาคม – มิถุนายน ปีงบประมาณ
จดทะเบียนและจ่ายเครื่องจักรกล
ระยะ 1 เดือนหลังจากตรวจรับ

การจัดทำแผนการจัดหาเครื่องจักรกลประจำปี

01

รวบรวมข้อมูลความต้องการของหน่วยงานผู้เช้าใช้ภายในกรมทางหลวง ข้อมูลด้านต่างๆของเครื่องจักรกล รวมถึงนโยบายของกรมทางหลวง

02

พิจารณาแนวทางการจัดหาเครื่องจักรกล
2.1 การโอนย้ายสังกัด
2.2 การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ส่วนกลาง
2.3 การจัดซื้อเพื่อทดแทนหรือเพิ่มเติม
2.4 การพัฒนาเครื่องจักรกล

ข้อมูลการประกอบการพิจารณาจัดหาเครื่องจักร

01

มีความต้องการจากผู้ใช้

02

มี Utilization สูงและคุ้มค่าการลงทุน

03

ทดแทนเครื่องจักรที่ครบอายุการใช้งาน

ปฏิทินกิจกรรมที่สำคัญ

ตุลาคม – ธันวาคม

สอบถามความต้องการเครื่องจักรกลจากหน่วยงานผู้เช่าใช้ภายในกรมทางหลวง

เมษายน – กรกฏาคม

ขออนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปีถัดไป (ขออนุมัติแผนการจัดหาเครื่องจักรกลเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีถัดไป)

การเช่าใช้เครื่องจักรกล

วัตถุประสงค์

เพื่อนำรายได้จากการให้บริการเช่าเครื่องจักรกลมาใช้จ่ายหมุนเวียนในการดำเนินงานและบริหารสินทรพย์ของเงินทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

การวัดผล

ตัวชี้วัดรายได้ค่าเช่าเครื่องจักรกล , ตัวชี้วัดร้อยละอัตราการเช่าใช้เครื่องจักรกล

การดำเนินการ

1. จัดทำแผนการให้บริการเช่าใช้เครื่องจักรกล
ระยะเวลาการดำเนินการ ตุลาคม – ธันวาคม
2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินการ ตุลาคม – ธันวาคม
4 โอนย้ายสังกัดเครื่องจักรกล
1. ครั้งที่ 1 เดือน ธันวาคม
2. ครั้งที่ 2 เดือน มีนาคม
3. ครั้งที่ 3 เดือน มิถุนายน

ปฏิทินกิจกรรมที่สำคัญ

ตุลาคม – พฤศจิกายน

จัดทำแผนการให้บริการเช่าใช้เครื่องจักรกลประจำปี

เมษายน – กรกฏาคม

จัดกรอบอัตรากำลังเครื่องจักรกลให้เหมาะสมตามภารกิจ

ไตรมาส 1,2,3

โอนย้ายสังกัดเครื่องจักรกล

การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เครื่องจักรกลของเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสนองภารกิจของกรมทางหลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวัดผล

ร้อยละความพร้อมเครื่องจักรกล

การดำเนินการ

การซ่อมบำรุงแยกออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
1 การซ่อมบำรุงรักษาตามแผนการเช่าใช้เครื่องจักรกลของหน่อยงาน (ส่วนภูมิภาค)
เป็นการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในสังกัดของหน่วยงานตามรอบบริการหล่อลื่น และตามแผนการเช่าใช้ ดำเนินการโดยตัวแทนเงินทุนหมุนเวียน (PS/FDR) ด้วยงบประมาณเงินโอนขายบิลที่ได้รับโอนจากส่วนกลาง ที่ได้รับทุกๆไตรมาส (ปีละ4 ครั้ง)
2 การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลที่ส่วนกลาง
เป็นการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเงินทุนหมุนเวียนที่จัดหาไม่เพียงพอกับความต้องการ/หรือให้มีอยู่ตามภารกิจของกรมฯ เป็นเครื่องจักรกลที่มีสภาพชำรุด ซึ่งจะทำให้เครื่องจักรกลมีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น ดำเนินการโดยสำนักเครื่องกลสื่อสาร ด้วยงบประมาณที่จัดสรรตามแผนประจำปี

1. การซ่อมบำรุงรักษาตามแผนการเช่าใช้เครื่องจักรกลของหน่อยงาน (ส่วนภูมิภาค)

ขั้นตอน การจัดทำแผนซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลตามแผนให้บริการเช่า/ใช้ เพื่อจัดสรรเงินโอนขายบิล

01

สก. กำหนดรูปแบบแผนการซ่อม
ช่วงเวลาดำเนินการ ธันวาคม

02

ส่วนภูมิภาคจัดทำแผนซ่อมบำรุงฯ
ช่วงเวลาดำเนินการ มกราคม

03

สก. รวบรวมและจัดทำแผน
ช่วงเวลาดำเนินการ กุมภาพันธ์ – เมษายน

04

สก. ขอประมาณการรายรับ-รายจ่าย
ช่วงเวลาดำเนินการ พฤษภาคม- มิถุนายน

05

สก. ดำเนินการโอนขายบิล (โอนขายบิล 4 งวด โดยประมาณ)
– งวดที่ 1 (เดือนตุลาคม)
– งวดที่ 2 (เดือนธันวาคม)
– งวดที่ 3 (เดือนมีนาคม)
– งวดที่ 4 (เดือน,มิถุนายน)

2. การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลที่ส่วนกลาง(สก.)

01

ตรวจสภาพเครื่องจักรกลโดยเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง
ช่วงเวลาดำเนินการ พฤษภาคม – มิถุนายน

02

ประชุมคัดเลือก เครื่องจักรกลเข้าซ่อมส่วนกลาง
ช่วงเวลาดำเนินการ ตุลาคม – มิถุนายน

03

เสนอแผนอนุมัติซ่อมบำรุง
ช่วงเวลาดำเนินการ สิงหาคม

04

ผสก. อนุมัติแผนซ่อมบำรุงรักษาฯ
ช่วงเวลาดำเนินการ พฤษภาคม – มิถุนายน

05

แจ้งหน่วยงานต้นสังกัดเครื่องจักรกลตามแผนซ่อมฯ เพื่อทราบ
ช่วงเวลาดำเนินการ พฤษภาคม – มิถุนายน

06

ดำเนินการซ่อมตามแผน
ช่วงเวลาดำเนินการ ตุลาคม – กันยายน

ปฏิทินกิจกรรมที่สำคัญ

ธันวาคม – มิถุนายน

จัดทำแผนประมาณการค่าซ่อมบำรุ่งรักษาเครื่องจักรกลเพื่อขอประมาณการ

ทุกไตรมาส

เสนอขออนุมัติโอนขายบิลประจำปีงบประมาณ
– ไตรมาสที่ 1 สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม
– ไตรมาสที่ 2 สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนธันวาคม
– ไตรมาสที่ 3 สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม
– ไตรมาสที่ 4 สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน

มีนาคม – กันยายน

จัดทำแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลที่ส่วนกลาง

การจำหน่ายเครื่องจักรกล

วัตถุประสงค์

เพื่อหารายได้จากการจำหน่วยเครื่องจักรกลที่หมดความจำเป็น หมดอายุการใช้งานและซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่า

การวัดผล

ตัวชี้วัดร้อยละการขาดทอดตลาดเครื่องจักรกลได้ตามแผนการขายทอดตลาด

การดำเนินการ

เงินทุนหมุนเวียนฯ จะมีการประเมินสภาพความพร้อมการใช้งาน ความจำเป็นการใช้งานและความคุ้มค่าในการใช้งานของเครื่องจักรกลทุกปีตามขั้นตอนดังนี้
หน่วยงานเห็นว่าเครื่องจักรกลควรจำหน่วย
ดำเนินการโดยหน่วยงานต้นสังกัด
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ
ดำเนินการโดยหน่วยงานต้นสังกัด
จัดทำบัญชีเครื่องจักรกลที่ควรจำหน่วย (จน.1)
ดำเนินการโดยหน่วยงานต้นสังกัด
แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง
ดำเนินการโดยหน่วยงานต้นสังกัด
ตรวจสอบข้อมูลสภาพความเป็นจริงของเครื่องจักรกล
ดำเนินการโดยสำนักเครื่องกลและสื่อสาร
เสนอขออนุมัติจำหน่ายจากคณะกรรมการบริหารเงินทุนฯ
ดำเนินการโดยสำนักเครื่องกลและสื่อสาร
แจ้งหมายเลขเครื่องจักรที่อนุมัติจำหน่าย
ดำเนินการโดยสำนักเครื่องกลและสื่อสาร
ดำเนินการขายทอดตลาด
ดำเนินการโดยหน่วยงานต้นสังกัด

ตุลาคม – ธันวาคม

ตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี/ระหว่างปี พร้อมจัดทั้งจัดทำบัญชีเครื่องจักรกลที่ควรจำหน่วยและรายงานการตรวจสภาพเครื่องจักรกลเพื่อจำหน่าย

มีนาคม – มิถุนายน

ตรวจสอบข้อมูลเครื่องจักรกลและขออนุมัติจำหน่าย

เมษายนและกรกฏาคม

แจ้งอนุมัติจำหน่ายเครื่องจักรกล

เมษายน – กันยายน

ดำเนินการขาดทอดตลาด